ฉี่บ่อยอย่างนี้ เสี่ยงโรคอะไรรึเปล่า??

ฉี่บ่อยอย่างนี้ เสี่ยงโรคอะไรรึเปล่า??

ฉี่บ่อยอย่างนี้-เสี่ยงโรคอะไรรึเปล่า

           ในหนึ่งวันคนเราปัสสาวะมากน้อยขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิต การดื่มน้ำ และการสูญเสียเหงื่อรวมถึงการอุจจาระด้วย แต่! เคยสังเกตตัวเองกันไหมว่า… ฉี่บ่อย (ปัสสาวะ) แค่ไหนกัน โดยเฉพาะเวลากลางคืนที่เข้านอนเเล้วต้องจำใจลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำอีก ซึ่งแน่นอนมันส่งผลต่อการใช้ชีวิต แถมยังเสียเวลาการพักผ่อนไปอีกน่ะสิ และแน่นอนการฉี่บ่อยสามารถบอกความผิดปกติของร่างกายเราได้ด้วยนั้นเองว่าเสี่ยงเป็นโรคอะไรหรือเปล่า

 

ทางเลือกที่ช่วยได้

            ถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย เป็นหนึ่งทางเลือกที่เข้ามามีบทบาทกับปัญหาฉี่บ่อยที่กำลังเผชิญสำหรับคนที่เป็นโรคไต ไตเสื่อม หรือกลัวว่าการฉี่บ่อยจะทำให้เราเสี่ยงเป็นโรค โดยในถั่งเช่ามีสารคอร์ไดซิปิน (Cordycepin) สารเฉพาะตัวของถั่งเช่าที่เพิ่มประสิทธิภาพในระบบการไหลเวียนเลือด ต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรค ลดน้ำตาลในเลือด มีฤทธิ์บำรุงไต เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนของโลหิต ซึ่งสารคอร์ไดซิปินในถั่งเช่านี้เองช่วยบำรุงไต ช่วยให้การทำงานของไตดีขึ้น ฉะนั้นจึงสามารถทำให้อาการปัสสาวะบ่อย หรือฉี่บ่อยตอนกลางคืนลดลงได้ 

           โดยอัตราการทานถั่งเช่า คอร์ดี้ไทย ถ้าปัสสาวะบ่อยให้เริ่มทาน 4 แคปซูล/วัน และถ้าอาการดีขึ้นให้ลดปริมาณแคปซูลลงเหลือ 2 แคปซูล/วัน

 

อย่าชะล่าใจกับการฉี่บ่อย

            การปัสสาวะบ่อย หรือที่เราเรียกกันง่ายๆว่า “ฉี่บ่อย” นั้น ไม่ใช่เรื่องที่เราควรมองข้าม เพราะมันบ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายของเราได้เลยนะ ถ้าเราฉี่ปริมาณมากกว่าวันละ 3 ลิตร หรือมักตื่นขึ้นกลางดึกมาฉี่หลายๆครั้งนั้นมันผิดวิสัยของการเข้าห้องน้ำของเเราแล้วหรือเปล่า โดยทั่วไปแต่ละคนฉี่ตอนกลางวันประมาณ 3 - 5 ครั้ง ตอนเย็นไปถึงตอนเข้านอน 1 - 2 ครั้งโดยประมาณ และถ้าอายุยังน้อยแทบไม่ต้องลุกขึ้นมาฉี่เลย ซึ่งจะอยู่ได้เกิน 8 ชม. แต่หากเป็นผู้สูงอายุจะฉี่ราว 1 - 2 ครั้ง โดยเป็นจำนวนการฉี่ของคนปกติ และเป็นการฉี่ปกติ

            เมื่อมีน้ำเข้าไปรวมตัวอยู่ในกระเพาะปัสสาวะเพื่อรอขับถ่ายออกนั้น ราว 150 ซีซี หรือประมาณ 1 ใน 3 ของความจุกระเพาะปัสสาวะ จะรู้สึกปวดถ่วงบริเวณหัวเหน่านิดๆ แต่ยังรอได้ และถ้ารอไปเรื่อยๆกระเพาะปัสสาวะจะค่อยขยายขึ้น จนน้ำปัสสาวะมากราว 300 - 400 หรือ 500 ซีซี จึงจะปวด แล้วแต่ความอดทนหรือความเคยชินของแต่ละคนไป

 

ฉี่บ่อยเสี่ยงโรคอะไรบ้างนะ

ลองสังเกตตัวเองสิ แล้วถ้ารู้ว่าตัวเองปัสสาวะบ่อยแน่ๆ ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายกัน เพื่อเช็คว่าเสี่ยงต่อโรคพวกนี้หรือไม่

  • โรคไต

อาการอย่างหนึ่งของคนที่เป็นโรคไต ไม่ว่าจะเป็นไตอักเสบ ไตเสื่อม หรือไตวาย คือ อาการปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน อันเนื่องมาจากภาวะการทำงานที่ผิดปกติ ไตเริ่มทำงานเสื่อมลง หรือค่าของเสียในไตเริ่มสูงขึ้น ไตไม่สามารถดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกายได้ดีเช่นเดิม จึงทำให้น้ำถูกขับออกจากร่างกายมากกว่าปกติ และบ่อยกว่าปกติจึงทำให้เราฉี่บ่อยขึ้นนั่นเอง

  • ภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป

หากกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไปจะทำให้เรารู้สึกปวดปัสสาวะบ่อยๆ แม้ว่าจะมีปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะไม่มาก หรือปัสสาวะยังไม่ทันเต็มกระเพาะก็ปวดจนอยากจะปล่อยออกมา ความบ่อยของการปัสสาวะอยู่ที่ราวๆ ทุกชั่วโมง อาจรบกวนการนอนหลับตอนกลางคืน เพราะต้องลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำบ่อยๆ จนทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ แม้จะปัสสาวะเพียงเล็กน้อย แต่ก็ปวดมาก และกลั้นไม่ค่อยไหว

  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ

มีอาการคล้ายกับภาวะกระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป ซึ่งอาจเป็นโรคที่ตามมาหลังจากเกิดภาวะนี้ เกิดจากการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน และบ่อย หรือทำความสะอาดอวัยวะเพศไม่ดีพอ เช่น การใช้กระดาษชำระเช็ดจากด้านหลังมาด้านหน้า การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เป็นโรคเบาหวาน หรือเป็นผู้ป่วยที่ต้องใช้สายสวนปัสสาวะเป็นเวลานาน

  • โรคเบาหวาน

การปัสสาวะบ่อยของคนที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่มีน้ำตาลในเลือดสูง ไตพยายามกรองเอาสารอาหารที่มีประโยชน์อย่าง น้ำตาลกลับคืนสู่ร่างกาย แล้วส่งออกไปพร้อมปัสสาวะ จึงทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติทั้งกลางวัน และกลางคืน

  • นิ่ว หรือก้อนเนื้อบริเวณกระเพาะปัสสาวะ

เมื่อมีนิ่ว หรือมีก้อนเนื้อเกิดขึ้นในบริเวณกระเพาะปัสสาวะ หรือบริเวณใกล้เคียงอาจโตจนเข้าไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้ปัสสาวะเต็มกระเพาะปัสสาวะเร็วขึ้น เลยทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เป็นเหตุผลคล้ายกันกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ที่ขนาดมดลูกขยายจนมาเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติเช่นกัน

  • ต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากโต ทำให้ผนังกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะหนาขึ้น เนื่องจากต้องบีบตัวแรงขึ้นเพื่อขับน้ำปัสสาวะให้ผ่านท่อแคบๆที่ต่อมลูกหมากไปเบียดอยู่ ทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัด และเมื่อผนังกระเพาะปัสสาวะหนาตัวขึ้นก็จะส่งผลต่อความสามารถในการกักเก็บน้ำปัสสาวะลดลง จึงต้องปัสสาวะบ่อยขึ้น